ชื่อเรื่องที่วิจัย การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โครงงานวิทยาศาสตร์
โดยใช้แบบฝึกี่มีผลต่อความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อการเรียนโครงงาน
วิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้น ม.6 กิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย นางนุชลักษณ์ หงษ์ทอง
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2548
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ และพฤติกรรมการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้สื่อ ICT - Presentation ประกอบการทำแบบฝึกทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของนักเรียนชุมนุมวิทยาศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่เรียนในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำนวน 21 คน โดยการใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและ
หลังเรียน (One Group Pre-test Post-test Design )
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึก จำนวน 7 แผน แบบสอบถามเจตคติที่มีต่อการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ชุด คือ ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบคู่ขนาน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.78 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.73 แบบสังเกตพฤติกรรมในการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึก และแบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึก จากผลการประเมิน ดังนี้
1.1 คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 6 ชุด เท่ากับ 8.56 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละได้เท่ากับ 85.60
1.2 การวิเคราะห์คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลปรากฏว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คือ มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน และหลังเรียน เท่ากับ 11.29/ 25.24 และค่าร้อยละก่อนเรียนและหลังเรียน เท่ากับ 37.62/84.13
1.3 ผลการประเมินการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ พบว่ามีผลการประเมินในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึก มีคะแนนเฉลี่ยทุกข้ออยู่ในระดับดีมาก คือมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาจรฐาน เท่ากับ 0.15 แสดงว่านักเรียนมีผลคะแนนประเมินการทำโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึก อยู่ในระดับดีมาก
2. การวิเคราะห์เจตคติต่อการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากแบบสอบถามเจตคติในการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยการใช้ แบบฝึก ได้ค่าเฉลี่ยทั้งฉบับเท่ากับ 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.15แสดงว่านักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
3.ผลการศึกษาพฤติกรรมในการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกได้ค่าเฉลี่ยจากการประเมินทั้งฉบับของแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคลเท่ากับ 3.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.13 แสดงว่านักเรียนมีพฤติกรรมในการเรียนอยู่ในระดับดีมากและแบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติการกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยจากการประเมินทั้งฉบับเท่ากับ 3.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.11
การปฏิบัติงาน
- ปฏิบัติการสอนชีววิทยา ม. ๔ – ๖
- ปฏิบัติการโครงงานวิทยาศาสตร์ ม.๓
- ปฏิบัติการสอนชุมนุมวิทยาศาสตร์ ม.ปลาย
หน้าที่พิเศษ
- หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตร
- หัวหน้ากลุ่มลูกเสือกลุ่มที่ ๒
- คณะกรรมการบริหารวิชาการ
- คณะกรรมการบริหารโรงเรียน
- หัวหน้าทีมครูผู้นิเทศ ศกม.๒๘ สพท.อบ.เขต ๔
- ครูพี่เลี้ยงวิชาการ โครงการพัฒนาครูเครือข่าย สสวท.
งานพัฒนาตนเอง
- ผ่านการอบรมการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ๒๕๔๕
- ผ่านการอบรมครูแกนนำและต้นแบบกรมสามัญศึกษา ๒๕๔๕
- ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู” ๒๕๔๕
- รับการอบรมหลักสูตร “การสร้างเอกสารทางวิชาการและการนำเสนอคณะกรรมการชุดที่ ๓” ๒๕๔๖
- เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ การจัดการเรียนการสอนด้วย ICT ๒๕๔๗
- ผ่านการอบรมหลักสูตร”ครูกับการเตรียมสู่ความก้าวหน้าตามกฎหมายใหม่
- เข้ารับการฝึกอบรมโครงการ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ หลักสูตร ๓ การวิจัย ๒๕๔๘
- ร่วมการประชุมสัมมนาบุคลากรเพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ๒๕๔๙
- ร่วมประชุมสัมมนารวมพลัง เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไทย
- ร่วมประชุมปฏิบัติการเผยแพร่และขยายผลรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ ๕ ขั้นตอน
เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ระดับสูง ๒๕๕๙
- ผ่านการอบรมตามหลักสูตรพัฒนาข้าราชการและบุคลากรทางการสึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะเป็น
“ครูเชี่ยวชาญ” ๒๕
- ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์ ๒๕๕๐
- ผ่านการอบรมการจัดการเรียนการสอน แบบบูรณาการ ICT
ผลงานดีเด่น
- เกียรติบัตรครูสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่น
- ครูคุณธรรมจริยธรรมดีเด่นคุรุสภาอำเภอ
- ครูผู้มีจรรยาบรรณดีเด่นคุรุสภาจังหวัด
- เกียรติบัตรแผนการสอนจากสถาบันพัฒนาความก้าวหน้า
- แผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญรายวิชาว ๔๐๒๔๒, ว ๐๔๑๑
- เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ๔๐๒๔๒, ว๐๔๑๑
- งานวิจัยการศึกษาผลจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้ แบบฝึกของนักเรียนชั้น ม. ๖
- ครูปฏิรูปการศึกษาเกรียติบัตรทอง ส.พ.ท. อบ.เขต ๔
- บุคคลแห่งปี สายผู้สอน ปี ๒๕๔๘ ส.พ.ท.อบ.เขต ๔
- โล่รางวัล “ต้นแบบครูดี ศรีแผ่นดิน” จากหนังสือพิมพ์ข่าวผู้นำ ปี ๒๕๕๒
สื่อเรียนรู้ ICT
- E-B00k : ระบบหมุนเวียนเลือด
- E-Learning : ระบบย่อยอาหาร : ระบบหายใจ
- Presentation : ชีววิทยา 1 : ชีววิทยา 2 : ชีววิทยา 3 : โครงงานวิทยาศาสตร์